ไม่มีใครปฏิเสธได้ว่านอกเหนือจากการคาดหวังที่นักท่องเที่ยวต้องการคือความสะดวดสบาย การเดินทางที่รวดเร็ว เข้าถึงสถานที่ท่องเที่ยวอย่างสะดวดง่ายดาย รถไม่ติด น้ำไม่ท่วม สะอาดปลอดภัย สรุปก็คือความมั่นใจในการท่องเที่ยว มาแล้วเป็นไปตามที่หวังและได้มากกว่าที่คาดหวังหรือไม่ เหล่านี้ไม่ใช้เรื่องเล่นๆ ประเภทเด็กขายของ แต่ล้วนเป็นสิ่งที่สำคัญทั้งสิ้นและเป็นปัจจัยหลักๆที่ทุกหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นเอกชนหรือภาครัฐต้องหาทางแก้ไขโดยเร็ว
...จากภาพ กรณีนักท่องเที่ยวจากเรือสำราญ มาจอดยังท่าหาดป่าตอง ภูเก็ต จะเห็นว่าน้ำท่วมท่าเรือ สะพานเดินเต็มไปด้วยน้ำ เหล่านี้ล้วนเป็นอุปสรรคในการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวผู้ที่ต้องใช้รถเข็นไม่สามารถออกมาจากเรือได้ หรือนักท่องเที่ยวบางท่านอาจจะถอดใจไม่ลงจากเรือ
การเดินทางด้วยรถ จากสภาพการจราจรที่ติดขัดทำไห้นักท่องเที่ยวที่ต้องการไปยังสถานที่เที่ยวต้องใช้เวลาในการเดินทางมากกว่าปกติ เกิดความเบื่อหน่าย เวลาที่ใช้ในการท่องเที่ยวน้อยกว่าเวลาที่ใช้ในการเดินทาง ถึงจะไม่ใช้นักท่องเที่ยวเป็นใครใครก็เซ็ง
.....ที่กล่าวมาข้างต้น พ่อค้าแม่ค้าเจ้าของพื้นที่ขาดรายได้ เศรษฐกิจขาดความคล่องตัว กระทบเป็นลูกโซ่ จากเรื่องเล็กๆ(สำหรับบางคน) กลายเป็นเรื่องใหญ่โต
ภาพเช่นนี้ทำให้นักท่องเที่ยวไม่มั่นไจในระบบสาธารณูปโภค เกิดการบอกต่อกันไป คิดดูว่าอนาคตการท่องเที่ยวไทยเราจะเป็นอย่างไร จะสู้ประเทศไกลเคียงหรือประเทศอื่นๆได้หรือไม่ อย่าประมาทว่าประเทศไทยมีสถานที่ท่องเที่ยวติดอันดับโลก ประเพณีวัฒนธรรมที่ยาวนาน เพราะสิ่งต่างๆที่คนไทยเคยภูมิใจ นับวันมันยิ่งจะถดถอยลงไปเรื่อยๆ ด้วยความไร้จิตสำนึกของคนไทยด้วยกันเอง
anda ~ 🚉✈🚌🚢🚥
รถยนต์ รถไฟ รถเมล์ เครื่องบิน เรือ ไฟจราจร บ้านเรามีครบ ยกเว้นจิตสำนึกที่ขาดหาย^^
วันเสาร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2555
วันศุกร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2555
พญาช้างผู้เสียสละ นิทานธรรม
พญาช้างผู้เสียสละ นิทานธรรม
บริเวณป่าหิมพานต์ มีช้างป่าอยู่โขลงหนึ่งจำนวนนับเป็นแสนเชือกอาศัยอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข ครั้งนั้น พระพุทธเจ้าของเราเกิดเป็นช้างขาวปลอด ทั่วทั้งตัวมองดูแล้วเหมือนกองเงิน ตาทั้งสองข้างกลมเหมือนก้อนแก้วมณี หน้าแดงระเรื่อเหมือนผ้ากัมพลแดง งวงขาวย้วยเหมือนพวงเงินที่ประดับด้วยหยดทองคำขาว เท้าทั้ง ๔ แดงเหมือนทาด้วยน้ำครั่ง และมีชื่อว่า “พญาช้างสีลวะ” เนื่องจากเป็นช้างถือศีล พระเทวทัตเกิดเป็นพรานป่า
พญาช้างสีลวะมีรูปร่างสวยงามมาก เมื่อเติบโตเป็นช้างหนุ่ม ก็มีช้าง ๘๐,๐๐๐ เชือกเป็นบริวารห้อมล้อม ต่อมาเกิดเบื่อหน่ายโขลงช้างที่รับผิดชอบดูแลจึงปลีกตัวไปอยู่ตามลำพัง ต่อมา มีพรานป่าชาวเมืองพาราณสีคนหนึ่งเดินทางไปบริเวณป่าหิมพานต์เพื่อหาเก็บผัก ผลไม้และล่าสัตว์เลี้ยงชีพ เขาเดินไปเรื่อยๆ จนเข้าไปในป่าลึกและจำไม่ได้ว่าทิศไหนเป็นทิศตะวันออกหรือทิศตะวันตก ทิศเหนือหรือทิศใต้ จึงหลงทางกลับเมืองพาราณสีไม่ถูก และเมื่อไม่เห็นทางจะช่วยตนเองได้ ก็ร้องไห้คร่ำครวญอยู่กลางป่านั้นเอง
พญาช้างสีลวะได้ยิน เสียงคร่ำครวญของพรานป่าแล้วเกิดสงสารจะช่วยเขา “ชายคนนั้นเขาประสบทุกข์ เราจะต้องช่วยเขา” พญาช้างคิดพลางค่อยๆ เดินเข้าไปหาพรานป่า
ฝ่ายพรานป่าเห็นช้างเดินมาใกล้ก็รู้สึกกลัวจึงถอยหนี พญาช้างเห็นพรานป่าถอยหนีก็หยุดยืนมองอยู่เฉยๆ “เอ๊ะ..... ช้างตัวนี้มีท่าทางแปลกประหลาด” พรานป่าเริ่มคิดได้ “เวลาเราหนี มันกลับหยุด เวลาเราหยุด มันกลับเดินเข้ามา สงสัยจะมาช่วยเรา”
ครั้นคิดได้ดังนั้น จึงรวบรวมความกล้ายืนคอยช้างซึ่งค่อยๆ เดินเข้ามาใกล้ทุกขณะ พญาช้างเดินมาหยุดอยู่ใกล้ๆ แล้วส่ายสายตามองดูพรานป่าชั่วขณะหนึ่ง จากนั้นจึงถามไปว่า
“ท่านผู้เจริญ ท่านเดินร้องไห้คร่ำครวญอยู่ทำไม”
พรานป่ารู้สึกดีใจที่ได้ยินเสียงช้างถามขึ้นอย่างอ่อนโยน จึงตอบไปว่า
“ข้าพเจ้าร้องไห้คร่ำครวญเพราะกลับบ้านไม่ถูก คงตายอยู่กลางป่านี้เป็นแน่”
“ท่านมาจากไหน”
“จากเมืองพาราณสี”
“ข้าพเจ้าไม่รู้หรอกว่าเมืองพาราณสีอยู่ที่ไหน แต่จะพาท่านออกไปให้พ้นป่า จากนั้นท่านค่อยหาทางกลับบ้านเอง”
“ขอบคุณท่านมาก พญาช้าง”
พญาช้างสีลวะชำนาญเส้นทางเดินลัดเลาะภูเขาและป่าไม้ก็ถึงบริเวณชายป่า หิมพานต์ แล้วค่อยๆ ย่อตัวลงเพื่อให้พรานป่าลงได้อย่างสะดวก เมื่อพรานป่าลงมายืนบนพื้นดินแล้วพญาช้างก็พูดขึ้นว่า
“ท่านผู้เจริญ เลยป่านี้หน่อยหนึ่งก็เป็นทางใหญ่ที่มนุษย์เดินไปมากัน ทางสายนี้คงจะมีทางแยกไปเมืองพาราณสี”
“ข้าพเจ้าช่วยท่านครั้งนี้มิได้หวังอะไรตอบแทน” ช้างพูดขึ้น “มีอยู่อย่างเดียวที่จะขอท่าน จะให้ข้าพเจ้าได้หรือเปล่า”
“ท่านขออะไรว่ามาเลย”
“ขอให้ท่านอย่าบอกเรื่องที่มาพบข้าพเจ้าและอย่าบอกเรื่องที่ข้าพเจ้าอาศัยอยู่”
“เท่านี้เองหรือ” พรานป่าแสดงท่ารับคำขอร้องได้
“ขอบคุณท่านมาก” พญาช้างพูดจบก็หันหลังเดินกลับเข้าป่าลึกไป
ฝ่ายพรานป่า ตลอดเวลาที่นั่งหลังพญาช้างออกมาจากป่านั้น ก็คอยสังเกตหนทางโดยอาศัยภูเขาเล็กๆ และต้นไม้เป็นเครื่องหมาย
“สักวันหนึ่งเราจะกลับมาอีก” เขาคิดอยู่ในใจ “ช้างตัวนี้งาสวย ถ้าใครต้องการซื้อเราจะมาตัดไปขาย”
ดังนั้นเมื่อกลับมาถึงเมืองพาราณสีแล้ว วันหนึ่งขณะเดินไปตามท้องถนนเห็นพวกช่างงาช้างกำลังเอางาช้างมาทำเป็นรูป แปลกๆ ก็พลันคิดถึงพญาช้างสีลวะ เขาจึงเดินเข้าไปถาม
“ท่านอยากได้งาช้างเป็นกันไหม”
“พูดเป็นเล่นไป” พวกช่างงาแสดงท่าอยากได้ “งาช้างเป็น มีค่ากว่างาช้างตายอีก”
“ถ้าพวกท่านอยากได้ ข้าพเจ้าจะไปหามาให้”
“ไปเอามาเลย เอามาเดี๋ยวนี้ได้ยิ่งดี”
เมื่อพวกช่างงายืนยัน ว่ารับซื้อแน่นอน พรานป่าก็รีบกลับมาบ้านเตรียมเลื่อยเหล็กและเสบียง แล้วออกเดินทางมุ่งหน้าไปป่าหิมพานต์ที่อยู่ของพญาช้างสีลวะทันที เขาชำนาญการเดินทางและจำเครื่องหมายได้ดี เดินทางอยู่ไม่กี่วันก็ไปถึงที่อยู่ของพญาช้าง
“ท่านผู้เจริญ ท่านกลับมาทำไมล่ะ” พญาช้างสีลวะถามเขา ซึ่งบัดนี้มายืนอยู่เบื้องหน้า
“พญาช้าง” พรานป่าตอบละล่ำละลัก “ข้าพเจ้ามาหาท่านนั่นแหละ”
“มีเรื่องอะไรหรือ”
“พญาช้าง ข้าพเจ้าไม่มีญาติพี่น้องแถมยังหากินฝืดเคือง มาครั้งนี้ก็เพื่อจะมาของาท่านสักสองท่อนเพื่อเอาไปขาย”
“ได้ ถ้างาของข้าพเจ้าจะช่วยให้ท่านเลี้ยงชีวิตอยู่ได้” พญาช้างสีลวะพูดด้วยความเต็มใจ จากนั้นก็หมอบลง
พรานป่าดีใจมากจึงรีบเอาเลื่อยออกมาเลื่อยตรงบริเวณส่วนปลายงาทั้งสองข้าง ทันทีที่งาขาดตกลงกับพื้นดิน พญาช้างสีละก็เอางวงจับงาทั้งสองนั้นขึ้นมากำไว้แน่น พร้อมกับกล่าวว่า
“ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าให้งาทั้งสองนี้แก่ท่าน ไม่ใช่เพราะมันทำให้เรือนร่างของข้าพเจ้าสวยงาม แต่ยังมีงาอีกชนิดหนึ่งที่ข้าพเจ้ารักยิ่งกว่า เพราะเป็นงาที่จะทำให้ข้าพเจ้าได้รู้แจ้งธรรมทั้งปวงนั่นคือ พระสัพพัญญุตญาณ และยังช่วยโลกให้พ้นทุกข์ได้อย่างใหญ่หลวง”
ครั้นแล้ว พญาช้างสีลวะก็ชูงวงตั้งจิตปรารถนาขอให้ได้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณ สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า แล้วยื่นงาให้พรานป่าไป
พรานป่าได้งาแล้วก็ รีบเดินทางกลับไปเมืองพาราณสี นำงาช้างไปขายให้พวกช่างงาได้ราคามางามทีเดียว เขาเป็นอยู่อย่างสุขสบายได้ระยะหนึ่งเงินก็หมด จึงเดินทางกลับมาขอตัดงาส่วนที่เหลืออีก
“พญาช้าง งาสองท่อนที่ท่านให้ไปขายได้ราคาเพียงแค่ใช้หนี้เท่านั้น ข้าพเจ้ามาครั้งนี้ก็เพื่อจะมาของาที่ยังเหลือไปขายอีก” พรานโอดครวญ
“เชิญท่านตัดเลย” พญาช้างสีลวะบอกพรานป่าพลางหมอบลง
พรานป่าก็ตัดเอางาไปอีก ๒ ท่อน รายได้จากงา ๒ ท่อนนั้นช่วยให้เขาเป็นอยู่อย่างสบายได้ระยะหนึ่ง จากนั้นเขาก็กลับมาขอตัดงาส่วนที่ยังเลือกอยู่อีก จนครั้งสุดท้ายมาขอตัดเอาโคนงาส่วนที่ยังฝังอยู่ในเนื้อ
“เชิญท่านตัดเลย” พญาช้างสีลวะเสียสละให้เหมือนอย่างเคย พรานป่าจึงมาเอาเลื่อยแล้วปีนขึ้นไปตัดจนขาด ครั้นได้ตามต้องการแล้วก็รีบจากไปด้วยความดีใจ
ขณะที่เขาเดินจากพญาช้างสีลวะไปด้วยความดีใจนั้น ก็พลันเกิดเหตุอัศจรรย์ขึ้น คือ แผ่นดินตรงที่เขาเดินอยู่นั้นได้แยกออกแล้วสูบเขาจมหายไป แล้วทันใดนั้นเองก็มีเปลวไฟจากอเวจีมหานครลุกท่วมร่างของเขาแดงฉาน
เทวดาตนหนึ่ง สถิตอยู่บริเวณป่านั้น เห็นพฤติกรรมของพรานป่ามาตลอดจนกระทั่งถึงเวลาที่แผ่นดินสูบ จึงพูดขึ้นเสียงดังว่า
“คนอกตัญญูเห็นแก่ได้ แม้ใครยกแผ่นดินให้เขาครอบครอง ก็ไม่ทำให้เขาหยุดโลภได้”
ฝ่ายพญาช้างสีลวะ แม้บัดนี้จะไม่มีงาแล้ว ก็ต้องสู้ข่มความเจ็บปวดและทุกข์ทรมาน ต่อมาไม่นานก็ล้มไปเมื่อถึงอายุขัย
--นิทานธรรมเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า คนอกตัญญูนั้น แม้ตอนแรกจะดูรุ่งเรือง แต่สุดท้ายก็จะพบความวิบัติ เหมือนอย่างพรานป่าอกตัญญูพญาช้างสีลวะแล้วพบกับความวิบัติฉะนั้น--
บริเวณป่าหิมพานต์ มีช้างป่าอยู่โขลงหนึ่งจำนวนนับเป็นแสนเชือกอาศัยอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข ครั้งนั้น พระพุทธเจ้าของเราเกิดเป็นช้างขาวปลอด ทั่วทั้งตัวมองดูแล้วเหมือนกองเงิน ตาทั้งสองข้างกลมเหมือนก้อนแก้วมณี หน้าแดงระเรื่อเหมือนผ้ากัมพลแดง งวงขาวย้วยเหมือนพวงเงินที่ประดับด้วยหยดทองคำขาว เท้าทั้ง ๔ แดงเหมือนทาด้วยน้ำครั่ง และมีชื่อว่า “พญาช้างสีลวะ” เนื่องจากเป็นช้างถือศีล พระเทวทัตเกิดเป็นพรานป่า
พญาช้างสีลวะมีรูปร่างสวยงามมาก เมื่อเติบโตเป็นช้างหนุ่ม ก็มีช้าง ๘๐,๐๐๐ เชือกเป็นบริวารห้อมล้อม ต่อมาเกิดเบื่อหน่ายโขลงช้างที่รับผิดชอบดูแลจึงปลีกตัวไปอยู่ตามลำพัง ต่อมา มีพรานป่าชาวเมืองพาราณสีคนหนึ่งเดินทางไปบริเวณป่าหิมพานต์เพื่อหาเก็บผัก ผลไม้และล่าสัตว์เลี้ยงชีพ เขาเดินไปเรื่อยๆ จนเข้าไปในป่าลึกและจำไม่ได้ว่าทิศไหนเป็นทิศตะวันออกหรือทิศตะวันตก ทิศเหนือหรือทิศใต้ จึงหลงทางกลับเมืองพาราณสีไม่ถูก และเมื่อไม่เห็นทางจะช่วยตนเองได้ ก็ร้องไห้คร่ำครวญอยู่กลางป่านั้นเอง
พญาช้างสีลวะได้ยิน เสียงคร่ำครวญของพรานป่าแล้วเกิดสงสารจะช่วยเขา “ชายคนนั้นเขาประสบทุกข์ เราจะต้องช่วยเขา” พญาช้างคิดพลางค่อยๆ เดินเข้าไปหาพรานป่า
ฝ่ายพรานป่าเห็นช้างเดินมาใกล้ก็รู้สึกกลัวจึงถอยหนี พญาช้างเห็นพรานป่าถอยหนีก็หยุดยืนมองอยู่เฉยๆ “เอ๊ะ..... ช้างตัวนี้มีท่าทางแปลกประหลาด” พรานป่าเริ่มคิดได้ “เวลาเราหนี มันกลับหยุด เวลาเราหยุด มันกลับเดินเข้ามา สงสัยจะมาช่วยเรา”
ครั้นคิดได้ดังนั้น จึงรวบรวมความกล้ายืนคอยช้างซึ่งค่อยๆ เดินเข้ามาใกล้ทุกขณะ พญาช้างเดินมาหยุดอยู่ใกล้ๆ แล้วส่ายสายตามองดูพรานป่าชั่วขณะหนึ่ง จากนั้นจึงถามไปว่า
“ท่านผู้เจริญ ท่านเดินร้องไห้คร่ำครวญอยู่ทำไม”
พรานป่ารู้สึกดีใจที่ได้ยินเสียงช้างถามขึ้นอย่างอ่อนโยน จึงตอบไปว่า
“ข้าพเจ้าร้องไห้คร่ำครวญเพราะกลับบ้านไม่ถูก คงตายอยู่กลางป่านี้เป็นแน่”
“ท่านมาจากไหน”
“จากเมืองพาราณสี”
“ข้าพเจ้าไม่รู้หรอกว่าเมืองพาราณสีอยู่ที่ไหน แต่จะพาท่านออกไปให้พ้นป่า จากนั้นท่านค่อยหาทางกลับบ้านเอง”
“ขอบคุณท่านมาก พญาช้าง”
พญาช้างสีลวะชำนาญเส้นทางเดินลัดเลาะภูเขาและป่าไม้ก็ถึงบริเวณชายป่า หิมพานต์ แล้วค่อยๆ ย่อตัวลงเพื่อให้พรานป่าลงได้อย่างสะดวก เมื่อพรานป่าลงมายืนบนพื้นดินแล้วพญาช้างก็พูดขึ้นว่า
“ท่านผู้เจริญ เลยป่านี้หน่อยหนึ่งก็เป็นทางใหญ่ที่มนุษย์เดินไปมากัน ทางสายนี้คงจะมีทางแยกไปเมืองพาราณสี”
“ข้าพเจ้าช่วยท่านครั้งนี้มิได้หวังอะไรตอบแทน” ช้างพูดขึ้น “มีอยู่อย่างเดียวที่จะขอท่าน จะให้ข้าพเจ้าได้หรือเปล่า”
“ท่านขออะไรว่ามาเลย”
“ขอให้ท่านอย่าบอกเรื่องที่มาพบข้าพเจ้าและอย่าบอกเรื่องที่ข้าพเจ้าอาศัยอยู่”
“เท่านี้เองหรือ” พรานป่าแสดงท่ารับคำขอร้องได้
“ขอบคุณท่านมาก” พญาช้างพูดจบก็หันหลังเดินกลับเข้าป่าลึกไป
ฝ่ายพรานป่า ตลอดเวลาที่นั่งหลังพญาช้างออกมาจากป่านั้น ก็คอยสังเกตหนทางโดยอาศัยภูเขาเล็กๆ และต้นไม้เป็นเครื่องหมาย
“สักวันหนึ่งเราจะกลับมาอีก” เขาคิดอยู่ในใจ “ช้างตัวนี้งาสวย ถ้าใครต้องการซื้อเราจะมาตัดไปขาย”
ดังนั้นเมื่อกลับมาถึงเมืองพาราณสีแล้ว วันหนึ่งขณะเดินไปตามท้องถนนเห็นพวกช่างงาช้างกำลังเอางาช้างมาทำเป็นรูป แปลกๆ ก็พลันคิดถึงพญาช้างสีลวะ เขาจึงเดินเข้าไปถาม
“ท่านอยากได้งาช้างเป็นกันไหม”
“พูดเป็นเล่นไป” พวกช่างงาแสดงท่าอยากได้ “งาช้างเป็น มีค่ากว่างาช้างตายอีก”
“ถ้าพวกท่านอยากได้ ข้าพเจ้าจะไปหามาให้”
“ไปเอามาเลย เอามาเดี๋ยวนี้ได้ยิ่งดี”
เมื่อพวกช่างงายืนยัน ว่ารับซื้อแน่นอน พรานป่าก็รีบกลับมาบ้านเตรียมเลื่อยเหล็กและเสบียง แล้วออกเดินทางมุ่งหน้าไปป่าหิมพานต์ที่อยู่ของพญาช้างสีลวะทันที เขาชำนาญการเดินทางและจำเครื่องหมายได้ดี เดินทางอยู่ไม่กี่วันก็ไปถึงที่อยู่ของพญาช้าง
“ท่านผู้เจริญ ท่านกลับมาทำไมล่ะ” พญาช้างสีลวะถามเขา ซึ่งบัดนี้มายืนอยู่เบื้องหน้า
“พญาช้าง” พรานป่าตอบละล่ำละลัก “ข้าพเจ้ามาหาท่านนั่นแหละ”
“มีเรื่องอะไรหรือ”
“พญาช้าง ข้าพเจ้าไม่มีญาติพี่น้องแถมยังหากินฝืดเคือง มาครั้งนี้ก็เพื่อจะมาของาท่านสักสองท่อนเพื่อเอาไปขาย”
“ได้ ถ้างาของข้าพเจ้าจะช่วยให้ท่านเลี้ยงชีวิตอยู่ได้” พญาช้างสีลวะพูดด้วยความเต็มใจ จากนั้นก็หมอบลง
พรานป่าดีใจมากจึงรีบเอาเลื่อยออกมาเลื่อยตรงบริเวณส่วนปลายงาทั้งสองข้าง ทันทีที่งาขาดตกลงกับพื้นดิน พญาช้างสีละก็เอางวงจับงาทั้งสองนั้นขึ้นมากำไว้แน่น พร้อมกับกล่าวว่า
“ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าให้งาทั้งสองนี้แก่ท่าน ไม่ใช่เพราะมันทำให้เรือนร่างของข้าพเจ้าสวยงาม แต่ยังมีงาอีกชนิดหนึ่งที่ข้าพเจ้ารักยิ่งกว่า เพราะเป็นงาที่จะทำให้ข้าพเจ้าได้รู้แจ้งธรรมทั้งปวงนั่นคือ พระสัพพัญญุตญาณ และยังช่วยโลกให้พ้นทุกข์ได้อย่างใหญ่หลวง”
ครั้นแล้ว พญาช้างสีลวะก็ชูงวงตั้งจิตปรารถนาขอให้ได้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณ สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า แล้วยื่นงาให้พรานป่าไป
พรานป่าได้งาแล้วก็ รีบเดินทางกลับไปเมืองพาราณสี นำงาช้างไปขายให้พวกช่างงาได้ราคามางามทีเดียว เขาเป็นอยู่อย่างสุขสบายได้ระยะหนึ่งเงินก็หมด จึงเดินทางกลับมาขอตัดงาส่วนที่เหลืออีก
“พญาช้าง งาสองท่อนที่ท่านให้ไปขายได้ราคาเพียงแค่ใช้หนี้เท่านั้น ข้าพเจ้ามาครั้งนี้ก็เพื่อจะมาของาที่ยังเหลือไปขายอีก” พรานโอดครวญ
“เชิญท่านตัดเลย” พญาช้างสีลวะบอกพรานป่าพลางหมอบลง
พรานป่าก็ตัดเอางาไปอีก ๒ ท่อน รายได้จากงา ๒ ท่อนนั้นช่วยให้เขาเป็นอยู่อย่างสบายได้ระยะหนึ่ง จากนั้นเขาก็กลับมาขอตัดงาส่วนที่ยังเลือกอยู่อีก จนครั้งสุดท้ายมาขอตัดเอาโคนงาส่วนที่ยังฝังอยู่ในเนื้อ
“เชิญท่านตัดเลย” พญาช้างสีลวะเสียสละให้เหมือนอย่างเคย พรานป่าจึงมาเอาเลื่อยแล้วปีนขึ้นไปตัดจนขาด ครั้นได้ตามต้องการแล้วก็รีบจากไปด้วยความดีใจ
ขณะที่เขาเดินจากพญาช้างสีลวะไปด้วยความดีใจนั้น ก็พลันเกิดเหตุอัศจรรย์ขึ้น คือ แผ่นดินตรงที่เขาเดินอยู่นั้นได้แยกออกแล้วสูบเขาจมหายไป แล้วทันใดนั้นเองก็มีเปลวไฟจากอเวจีมหานครลุกท่วมร่างของเขาแดงฉาน
เทวดาตนหนึ่ง สถิตอยู่บริเวณป่านั้น เห็นพฤติกรรมของพรานป่ามาตลอดจนกระทั่งถึงเวลาที่แผ่นดินสูบ จึงพูดขึ้นเสียงดังว่า
“คนอกตัญญูเห็นแก่ได้ แม้ใครยกแผ่นดินให้เขาครอบครอง ก็ไม่ทำให้เขาหยุดโลภได้”
ฝ่ายพญาช้างสีลวะ แม้บัดนี้จะไม่มีงาแล้ว ก็ต้องสู้ข่มความเจ็บปวดและทุกข์ทรมาน ต่อมาไม่นานก็ล้มไปเมื่อถึงอายุขัย
--นิทานธรรมเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า คนอกตัญญูนั้น แม้ตอนแรกจะดูรุ่งเรือง แต่สุดท้ายก็จะพบความวิบัติ เหมือนอย่างพรานป่าอกตัญญูพญาช้างสีลวะแล้วพบกับความวิบัติฉะนั้น--
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
เมื่อได้ผลผลิต
สุขใจแค่ไหนเมื่อเห็นผลที่ได้จากการลงมือทำ สวัสดีค่ะ วันนี้นะคะจะมาบอกเล่าถึง ความสุขที่ได้ลงมือทำ อย่างเช่นครั้งนี้เช่นกัน สุขใจจริงๆค่ะ ที...
-
พญาช้างผู้เสียสละ นิทานธรรม บริเวณป่าหิมพานต์ มีช้างป่าอยู่โขลงหนึ่งจำนวนนับเป็นแสนเชือกอาศัยอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข ครั้ง...
-
ไปเจอเรื่องเกี่ยวกับมดในหนังสืออ่านเล่น เล่มหนึ่ง อ่านแล้วอดไม่ได้ที่จะนำมา share ให้ได้รับรู้เรื่องของมดที่น่ามหัศจรรย์ น่าทึ่ง.. . .........
-
กระโถนนางสีดา หรือ กระโถนสีดา ดอกบาน ดูคล้าย ๆ กับกระโถนฤาษีค่ะ ความแตกต่างก็ดูกันที่ดอกนี่แหละค่ะ กระโถนนางสีดา จะมีสีชมพูล้วน หรือสีกุหล...